วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เทศกาลลอยกระทง


ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด ในปัจจุบัน การลอยกระทงได้แพร่หลาย และเป็นที่นิยมไปอย่างกว้างขวาง

วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้

ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ และไม่มีในคัมภีร์ทางศาสนาเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย ได้ความว่ามีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน


 

สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย
2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาท นัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำ นัมมทานที ในประเทศอินเดีย3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้

 
 

ที่มาของข้อมูล

 

เทศกาลแห่เทียนพรรษา

 งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาติให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฉลียวฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง

ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนในยุคแรกๆชาวบ้านจะร่วมบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมามัดติดกับลำไม้ไผ่ติดกระดาษเงินสีทองตัดลายฟันปลามาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนมัดติดกับ ปิ๊บน้ำมันก๊าด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนลากจูง และมีขบวนฟ้อนรำด้วยต่อมาได้มีการหล่อดอกจากผ้าพิมพ์แล้วมีการประยุกต์ประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปแกะสลักสัตว์ ลายไม้ฉลุทำให้ต้นเทียนดูสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นประชาชนก็เห็นความสำคัญประเพณีแห่เทียนมากขึ้น จังหวัดก็ได้ส่งเสริมให้เป็นงานประจำปีในช่วงนั้นมีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสี กับประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น การทำต้นเทียนก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงการแกะสลักลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งเป็นการแกะที่ต้องอาศัยฝีมือเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาประเพณีแห่เทียนพรรษาจึงได้จดการประกวด3 ประเภท โดยเพิ่มประเภทแกะสลักลงบนต้นเทียนลงไป

 
ที่มาของข้อมูล

 

 

 

 

เทศกาลสงกรานต์



สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ คือ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของผู้รู้ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 คำ เดือน 5 แต่การนับวันทางจันทรคตินี้ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยะคติ ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ แต่เดิมเราถือเอาวันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ของไทย และแม้ว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลเพื่อให้สอดคล้องกับนานาอารยประเทศ แต่ก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ และยังถือว่าวันที่ 15 เมษายน เป็นวันครอบครัวอีกด้วย


ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี
ความสำคัญของวันสงกรานต์
 
1. เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี
 
 2. เป็นวันทำบุญสร้างกุศล และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
 
3. เป็นวันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย
 
4. เป็นวันแสดงวันกตัญญูกตเวที ระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 
5. เป็นวันครอบครัว วันรวมญาติและวันผู้สูงอายุ
 
6. เป็นวันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
 
 
ที่มาของข้อมูล
 
 

เทศกาลตรุษจีน
 ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2556 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์
 
 สำหรับที่มาของ วันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง


นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง
  
 ส่วนการกำหนด วันตรุษจีน นั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
   การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้าน ทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ
   
 ครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม หมายถึงบรรพชนอวยพร
 
 
ที่มาของข้อมูล

เทศกาลวันขึ้นปีใหม่
 
วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันที่ ๑ มกราคมของทุกปี
แต่เดิมประเทศไทยได้ถือเอา วันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปี ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกของปี เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม คณะรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ประกาศให้ใช้ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลนิยมตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งนิยมใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ทั่วโลก
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่
 
๑. เก็บกวาดทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
 
 
๒.ทำบุญตักบาตร กรวดนำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว
 
๓.ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่  
 
  ๔.ตรวจสอบตัวเองเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหนหากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน
 
 
ที่มาของข้อมูล
 

 

เทศกาลวันสำคัญต่างๆของไทย

ชาติไทยเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรื่องมาช้านาน มีขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหลากหลายในสังคมไทยที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ ของมนุษย์ที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิตของตนเอง ครอบครัวและสังคม เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษยึดถือเป็นแนว ปฎิบัติและมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาในรูปของความเชื่อ ศีลธรรมจรรยา ค่านิยม รวมทั้งพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย

ประเพณีไทยเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นใช้ร่วมกันในหมู่สมาชิก เป็นเครื่องหมายบอกความเป็นพวกเดียวกันของพวกที่ยึดถือในประเพณีเดียวกัน ประเพณีไทยจัดว่าเป็นวัฒนธรรมไทยประจำชาติหรือเป็นเอกลักษณ์ของสังคม แสดงว่า สังคมนั้นมีความเจริญมาตั้งแต่อดีตหรือมีลักษณะเฉพาะของตนมาเป็นเวลานาน ดังนั้นการมีประเพณี เป็นของตนเองจึงนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และประเพณีไทยยังมีส่วนสนับสนุนให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นสิ่งเชื่อมโยงให้คนในสังคมมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยังเป็นรากฐานของกฎหมายของประเทศ
 
 



 
 
ที่มาของข้อมูล

 
 
 


ชื่อ  นางสาว  ล่าติง  ลุงนูญ

เกิดวันที่  15 เมษายน 2534   อายุ 22 ปี

ที่อยู่  340 หมู่9 .หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230

ปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นปี 1 สาขาการบัญชี ปริญญาตรี 4 ปี

หมู่เรียน  บช 55.4.01

สาขาวิชา  การบัญชี

E-mail ที่สามารถติดต่อได้   lhating@hotmail.com

เบอร์โทร  081-167-2562

คติประจำใจ  ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

งานอดิเรก  อ่านหนังสือ ฟังเพลง เลี้ยงสุนัข